เมนู

9. นันทสูตร


[99] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุจะเรียกนันทะให้จักต้อง พึง
เรียกว่ากุลบุตร ว่าผู้มีกำลัง ผู้ก่อให้เกิดความเลื่อมใส ผู้มีราคะกล้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อความนี้ย่อมมีเพราะเหตุไร เพราะว่า นันท-
ภิกษุคุ้มครองทวารอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบ
ความเพียรอันเป็นเหตุให้ตื่นอยู่เสมอ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
อันเป็นเหตุให้นันทภิกษุสามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาเหตุเหล่านั้น ข้อนี้แลย่อมมีได้เพราะ
นันทภิกษุคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
หากนันทภิกษุ พึงเหลียวไปทางทิศบูรพาไซร้ นันทภิกษุก็ย่อม
สำรวมจิตทั้งปวงเหลียวดูทิศบูรพา ด้วยคิดว่า เมื่อเราเหลียวดู
ทิศบูรพาอย่างนี้ ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทนนัส
จักไม่ครอบงำจิตเราได้ เธอย่อมเป็นผู้รู้สึกตัวในการเหลียวดูนั้น
ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากนันทภิกษุพึงเหลียว
ไปทางทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องบน
พึงเหลียว ไปตามทิศน้อยทั้งหลายไซร้ นันทภิกษุย่อมสำรวมจิต
ทั้งปวงเหลียวไปทางทิศน้อย ด้วยคิดว่า เมื่อเราเหลียวแลไปตาม
ทิศน้อยอย่างนี้ ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัส
จักไม่ครอบงำจิตเราได้ เธอย่อมรู้สึกตัวในการเหลียวแลนั้นด้วย
ประการฉะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลย่อมมีได้ เพราะนันท-
ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาเหตุเหล่านั้น ข้อนี้ย่อมมีได้เพราะ
นันทภิกษุ เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ในธรรมวินัยนี้ นันทภิกษุ พิจารณาโดยอุบายอันแยบคายแล้ว
จึงบริโภคอาหาร ไม่ใช่บริโภคเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อประดับ
เพื่อตบแต่ง บริโภคเพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อเยียวยาอัตภาพ
เพื่อขจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยมนสิการ
ว่า เราจักขจัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความ
คล่องแคล่ว ความหาโทษมิได้ และความอยู่ผาสุกจักมีแก่เราได้
ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลย่อมมีได้ เพราะ
นันทภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาเหตุเหล่านั้น ข้อนี้ย่อมมีได้ เพราะ
นันทภิกษุเป็นผู้รู้จักประกอบความเพียรอันเป็นเหตุให้ตื่นอยู่ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ ในตอนกลางวัน นันทภิกษุย่อม
ชำระจิตให้สะอาดจากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการจงกรม ด้วย
การนั่ง ตอนต้นปฐมยามแห่งราตรี ชำระจิตให้สะอาดจากธรรม
เครื่องกั้นจิตด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ในมัชฌิมยามแห่งราตรี
สำเร็จสีหไสยาสโดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติ-
สัมปชัญญะ กระทำความหมายในอันลุกขึ้นไว้ในใจ ในปัจฉิมยาม
แห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว ทำจิตให้สะอาดจากกรรมเครื่องกั้นจิต
ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลย่อมมีได้
เพราะนันทภิกษุหมั่นประกอบความเพียรอันเป็นเหตุให้ตื่นอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาเหตุเหล่านั้น ข้อนี้ย่อมมีได้ เพราะ
นันทภิกษุมีสติสัมปชัญญะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้
นันทภิกษุทราบเวทนาที่เกิดขึ้น ที่ตั้งอยู่ ที่ถึงความดับไป นันทภิกษุ
ทราบวิตกที่เกิดขึ้น ที่ตั้งอยู่ ที่ถึงความดับไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข้อนี้แลย่อมมีได้ เพราะนันทภิกษุมีสติสัมปชัญญะ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ข้อความนี้ย่อมมีเพราะเหตุไร เพราะนันทภิกษุคุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบความ
เพียรอันเป็นเหตุให้ตื่นอยู่ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ อันเป็น
เหตุให้นันทภิกษุสามารถประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้.
จบ นันทสูตรที่ 9

อรรถกถานันทสูตรที่ 9


นันทสูตรที่ 9

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กุลปุตฺโต ได้แก่กุลบุตรโดยกำเนิด. บทว่า พลวา แปลว่า
สมบูรณ์ด้วยกำลัง. บทว่า ปาสาทิโก ได้แก่ ทำให้เกิดความเลื่อมใส
ด้วยรูปสมบัติ. บทว่า ติพฺพราโค แปลว่า ผู้มีราคะจัด. ในบทว่า
กิมญฺญตฺถ เป็นต้นมีอธิบายดังต่อไปนี้:- ประโยชน์อะไรด้วยเหตุ
อย่างอื่นที่เราจะกล่าว นันทะนี้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย